ในชีวิตประจำวันของคนเรา มักมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะด้วยตัวเองหรือ ผู้อื่น เช่น หกล้ม ถูกมีดบาด หรืออุบัติเหตุบนท้องถนน ล้วนเกิดขึ้นจากความประมาณและไม่ระมัดระวัง หากแผลไม่หนักมากก็สามารถรักษาให้หายได้เอง ในขณะที่แผลบางชนิด ที่รุนแรงหรือเกิดการติดเชื้อจากการไม่ดูแลบาดแผลอย่างต่อเนื่องและไม่ถูกวิธี ก็อาจต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
สิ่งสำคัญคือการดูแลรักษาความสะอาดของแผลเพื่อลดโอกาสติดเชื้อ ซึ่งหนึ่งในวิธีพื้นฐานก็คือการ “ล้างแผล (Wound Irrigation หรือ Wound Cleansing)”วันนี่เราจะมาแนะนำ ขั้นตอนการดูแลบาดแผลก่อนจะติดเชื้อโดยทีมแพทย์และพยาบาล
- ดูแลบาดแผลที่ติดเชื้อโดยแพทย์
- แพทย์จะใช้ยาชาทาหรือฉีดบริเวณที่เกิดแผล ล้างทำความสะอาดบาดแผล กรณีที่อาจมีการเย็บแผล
- กรณีที่ผู้ป่วยมีบาดแผลและสูญเสียเนื้อเยื่อไปมาก แพทย์อาจพิจารณาไม่เย็บปิดแผลที่เกิดขึ้น แต่จะเปิดแผลทิ้งไว้เพื่อให้แผลสมานตัวตามกลไกธรรมชาติ
- แพทย์ใช้ผ้าปิดหรือพันรอบแผลไว้ เพื่อป้องกันเชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าสู่แผลหลังล้างแผลเสร็จ
- บางกรณีที่แผลมีการปนเปื้อน แพทย์อาจให้เปิดแผลไว้ก่อนจนกว่าจะมั่นใจว่าแผลสะอาดดีแล้ว และไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน
- ในบางกรณี แพทย์อาจฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อบาดทะยักหรือ วัคซีนป้องกันโรคพิษุนักบ้า จากแผลที่มีความเสี่ยง
- แพทย์สั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ ให้ผู้ป่วยที่แผลมีการติดเชื้อ หรือแผลมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและลดการติดเชื้อ
- กรณีมีเนื้อเยื่อติดเชื้อและเกิดความเสียหายบอบช้ำ แพทย์จะนำเนื้อเยื่อส่วนที่ติดเชื้อและเนื้อเยื่อบางส่วนในบริเวณใกล้เคียงออกไป
- กรณีเนื้อเยื่อติดเชื้อหรือบาดแผลรุนแรง เช่น บาดแผลมีชิ้นส่วนอวัยวะหลุดออกไป แพทย์จะผ่าตัดเพื่อทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
การปฏิบัติตัวเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ผู้ที่มีบาดแผลต้องดูแลตัวเองหลังจากการล้างแผลโดยแพทย์ ดังนี้
- 1.หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- 2. หมั่นทายา ล้างแผลให้สะอาดอยู่เสมอ ไปทำความสะอาดแผลที่โรงพยาบาล คลินิก หรือสถานีอนามัยใกล้บ้าน ตามแพทย์สั่ง
3.หากผ้าพันแผลชื้นสกปรก ควรมาทำความสะอาดแผลใหม่ทันที เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- 4.งดพันแผลรัดแน่นเกินไป เพราะจะทำให้การไหลเวียนโลหิตมายังบาดแผลและไหลเวียนกลับไม่ดี
- 5 วิธีช่วยลดอาการบวมยกบริเวณที่มีบาดแผลไว้สูง เช่น ที่บริเวณแขน ขา มือ และเท้า เพื่อให้เลือดและน้ำเหลืองไหลกลับสะดวก
- 6 รับประทานยาที่แพทย์สั่ง หากมีอาการปวดแผล เพื่อปวดบรรเทาอาการได้และลดการติดเชื้อของแผล
- 7 งดแกะ แคะ เกา เมื่อแผลเริ่มแห้งและมีสะเก็ดของแผล เพราะจะทำให้แผลหายช้าลง
- 8 งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา เพราะจะทำให้แผลหายช้าพักผ่อนร่างกายและอวัยวะที่มีบาดแผลให้มากที่สุด
9 หากมีไข้ มีอาการปวดแผลมากขึ้น และมีรอยแผลบวม แดง ควรกลับมาพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็กอีกครั้ง
- 10.พบแพทย์ตามตารางนัดทุกครั้ง
การดูแลแลรักษาแผลของเราเป็นวิธีที่ควรปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อช่วยให้แผลหายและกลับมาเป็นปกติ โดย เซาท์ ลันตา มิดิคอล คลินิก เป็นศูนย์การแพทย์ครบวงจร ที่ดูแลและ ให้คำแนะนำจากทีมแพทย์พยาบาลที่มีประสบการณ์ ด้านการดูแล บาดแผลของผู้ป่วยทั้งคนไทยและต่างชาติ และเรายังมีบริการ ทำความสะอาดบาดแผลให้กับผู้ป่วยที่บ้านหรือ โรงแรมใน พื้นที่เกาะลันตา